ในสถานการณ์ปัจจุบัน ณ วันนี้ ความร้อนแรงทางการเมืองเป็นประเด็นสำคัญต่อความสนใจของนักลงทุน ซึ่งความจริงแล้วเป็นเช่นนี้ตลอดเวลา เคน ฟิชเชอร์ เคยว่าไว้ว่า ธรรมชาติของตลาดหุ้นคือ "ผันผวน" ไม่ว่าจะช่วงเวลาใด ๆ ความผันผวนของตลาดหุ้น นำมาถึงนิยามเปรียบเทียบว่า มิสเตอร์มาร์เก๊ต เป็นคนที่มีบุคลิกแปลกพิกล เมื่อต้นปีอารมณ์ดีเป็นพิเศษให้ราคาหุ้นสูง มาขายถูก ๆ เอาปลายปี ทำเอาหลายคนขาดทุนและเข็ดขยาดกับตลาดทุน
หากเราให้เวลากับตัวเราเองนานขึ้นกว่านี้และมองย้อนไปในอดีตที่นานกว่า ปีสองปีแห่งความรุ่งเรือง ผมอยากให้เราเห็นภาพของวอร์เรน บัฟเฟตต์ในช่วงแรกของการลงทุน แนวคิดของวอร์เรนในการมองตลาดหุ้นและปรัชญาที่เข้มข้นตั้งแต่วัยหนุ่ม กลางคน ชรา แม้มีเสี้ยวของเทคนิคที่แตกต่าง แต่ปรัชญาของเค้าแทบไม่เปลี่ยนแปลงเลย
ผมคงไม่มีคำแนะนำอะไรเพิ่มเติมในยามที่อุณหภูมิการเมืองเป็นเช่นนี้ แต่หากคุณคิดจะขายหุ้นในช่วงนี้ให้ลองอ่านจดหมายฉบับนี้ดูก่อน จะพบว่าเหตุผลในการขายของ บัฟเฟตต์คืออะไร? สอดคล้องกับการมีเหตุมีผลที่สมควรหรือไม่ ก่อนที่เราจะตัดสินใจขายหรือปรับพอร์ต เพียงเพราะคำว่า "กลัวการเมือง"
ปล. จดหมายฉบับนี้เป็นการเรียบเรียงโดยตัวผมเอง ดังนั้นก็มีเศษเสี้ยวความคิดของผมปน ๆ ไปบ้างในการเรียบเรียงเพื่อความสละสลวย แต่คงไว้ซึ่งสาระให้มากที่สุดนะครับ
จดหมายจากบัฟเฟตต์ ปี
พ.ศ. 2501
/ พฤศจิกายน
2556 Nevercry.Boy เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้:
เรียบเรียงใจความมิได้แปลตามตัวอักษร
เร็ว ๆ
นี้เพื่อนผมที่บริหารสถาบันการเงินขนาดกลาง ๆ
แห่งหนึ่งเขียนมาบรรยายกับคุณสมบัติของความเป็นนักลงทุนในอเมริกาไว้อย่างกระชับว่าเค้าเหล่านั้น
“ไร้ความอดทนและเปลี่ยนใจง่าย”
และนั่นนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงของตลาดหุ้นในปี พ.ศ. 2501
“ระเริง”
คำ ๆ นี้กระมังที่จะอธิบายภาพของนักลงทุนยามนี้ได้เหมาะที่สุด
การเปลี่ยนแปลงแนวคิดและจิตวิทยาการลงทุนทั้งมือสมัครเล่นตลอดจนมืออาชีพตลอดทั้งปี
เค้าเหล่านั้นอ้างสารพัดเหตุผลเพื่อที่จะควักเงินเดินเข้าตลาดหุ้น
ถนนทุกสายประดังประเดเข้าสู่ตลาด ไม่มีข้อสงสัยครับว่าปีนี้เป็นปีที่ดีกว่าทุกปี
มีอะไรที่ง่ายกว่านี้ที่จะทำเงินได้เร็วและไม่ต้องใช้ความพยายามมาก
แต่จะเป็นอย่างนี้ไปอีกนานหรือไม่? คงเป็นไปไม่ได้ที่ใครสักคนจะตอบ
ผมพูดได้อย่างเดียวว่าหากเป็นอย่างนี้ต่อไปมีโอกาสสูงที่จะโดนเล่นงานกลับมา
ผมเองเป็นคนที่ไม่สนใจที่จะพยากรณ์หรือคาดเดาตลาดใด
ๆ ทั้งสิ้น
ผมใช้ความพยายามในการเสาะแสวงหาหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็นของมัน
ถึงกระนั้นก็ตามผมสังหรณ์ใจเหลือเกินว่าความเชื่อผิด ๆ
ที่ว่าการทำเงินจากตลาดหุ้นเป็นของง่ายนั้นถูกแพร่กระจายไปอย่างล้นหลามและสักวันหนึ่งจะนำความหายนะมาสู่ราคาของหลักทรัพย์
แม้จะไม่กระเทือนถึงมูลค่าพื้นฐาน
แต่กระนั้นก็ดีทุกหลักทรัพย์แม้แต่หลักทรัพย์ที่มีราคาต่ำเมื่อเทียบกับมูลค่าก็จะได้รับความเสียหายเช่นกันไม่มีข้อยกเว้น
ปีก่อนผมเคยเขียนไว้ว่า
ผลการดำเนินงานของเรามักจะดีในยามที่ตลาดเข้าสู่ภาวะถดถอยหรือตลาดหมี และดีมากกว่าในภาวะตลาดกระทิงด้วยซ้ำ
ต้องเข้าใจนะครับผมไม่ได้มองว่ามูลค่าของพอร์ตลงทุนของเราลดลง
เรามองว่ามูลค่าพอร์ตการลงทุนของเราเทียบกับตลาดแล้วเป็นอย่างไรหากเราลงน้อยกว่าตลาดนั้นคือเราดีกว่าคนส่วนใหญ่
และเช่นเดียวกันในภาวะกระทิงพอร์ตของเราก็สามารถขึ้นได้สูงกว่าค่าเฉลี่ย
และนั่นคือมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของผม
ปีที่แล้วดาวน์โจนส์ขึ้นจาก
435 มาเป็น 583 รวมปันผลอีกประมาณ 20 จุด ก็นับได้ว่าขึ้นมาประมาณ 38.5%
พอร์ตของเราทำได้ดีกว่านั้นเล็กน้อย หุ้นของเราขึ้นมาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ
36.7-46.2% ส่วนหนึ่งมาจากสัดส่วนการลงทุนในหุ้นส่วนใหญ่ของเราได้รับผลประโยชน์จากการที่ตลาดพุ่งขึ้นไม่มากนัก
อย่างไรก็ตามผมยังคาดการณ์ต่อไปว่าผลการดำเนินงานของเราจะดีกว่าตลาดทั้งในยามที่ตลาดเป็นขาลง
ขาขึ้นหรือแม้แต่ตลาดที่อยู่คงที่
คราวนี้คุณคงเข้าใจแล้วว่าผมมีวิธีคิดอย่างไร
ผมได้แจ้งในพาร์ตเนอร์ชิพเมื่อปีที่แล้วว่า 10-20%
ของสัดส่วนของสินทรัพย์ของเราในหุ้นตัวหนึ่ง
ซึ่งผมยินดีที่จะซื้อมันและทะยอยซื้อมากขึ้นและมากขึ้นในช่วงที่ภาวะตลาดเป็นขาลงเพื่อที่เราจะได้หุ้นมากขึ้น
และเมื่อตลาดสวิงกลับเป็นขาขึ้นเราจะได้ขึ้นตามไปหรือมากกว่า ผมกำลังกล่าวถึง
บริษัท Common Wealth Trust Co.
of Union City, New Jersey, ผมคำนวณด้วยวิธีการแบบค่อนข้างอนุรักษ์นิยมได้
Intrinsic Value ของหุ้นตัวนี้ที่ 125 เหรียญ ต่อหุ้น
ไม่มีปันผล และมีกำไรประมาณ 10 บาท ต่อหุ้น
และเพราะว่าเค้าไม่จ่ายปันผลหุ้นตัวนี้เลยถูกกดราคาเหลือเพียง 50 เหรียญต่อหุ้น!
25.5% ของ Common Wealth นั้นมีเจ้าของเป็นธนาคารที่ใหญ่กว่าซึ่งเล็งจะควบรวมอยู่
(Common Wealth มีสินทรัพย์กว่า 50 ล้านเหรียญ
คิดเป็นครึ่งหนึ่งของธนาคาร First National หรือ U.S.
National ในโอมาฮา) อย่างไรก็ตาม
แม้ว่าการควบรวมจะยังเกิดไม่ได้จะมีปัญหาอันเนื่องมาจากข้อขัดแย้งระหว่างกันอยู่บ้าง
แต่ผมเชื่อว่าการควบรวมต้องดำเนินไปโดยมีข้อมูลสนับสนุนดังนี้
1.
การบริหารงานแบบระมัดระวัง
2.
มูลค่าขององค์กรสูงขึ้นดีอย่างสม่ำเสมอ
3.
ในที่สุดมูลค่าพื้นฐานจะถูกปลดปล่อย
ผมไม่แน่ใจนะครับว่าจะปีนึงหรือสิบปี
โดยเฉพาะในข้อสุดท้ายในที่สุดหากสิ่งที่ผมคาดการณ์เป็นจริงมูลค่าของกิจการจะสูงถึง
250 เหรียญต่อหุ้นเลยทีเดียว
ในหลายปีที่ผ่านมาผมทยอยสะสมหุ้นตัวนี้จน
12% ของธนาคารเป็นของเราที่ราคาเฉลี่ย
51 เหรียญต่อหุ้น เห็นได้ชัดครับว่าการที่ราคาไม่ขยับไปไหนนั้นเป็นผลดีกับเราทำให้เราได้หุ้นมากขึ้น
ผมไม่ได้หมายถึงราคาสูงขึ้นแต่ผมหมายถึงสัดส่วนของมันสูงขึ้น
และการที่เราเป็นผู้ถือหุ้นสูงสุดอันดับสองนั้นทำให้เรามีสิทธิโหวตและออกความเห็นต่อประเด็นการควบรวมกิจการ
Commonwealth มีผู้ถือหุ้นอยู่ประมาณ
300 คนและก็มีการซื้อขายต่ำประมาณแค่เดือนละ 1-2 ครั้งเท่านั้น
คุณคงเข้าใจแล้วนะว่าตลาดหุ้นไม่มีผลกับหุ้นตัวนี้มากนัก
แต่หุ้นสภาพคล่องต่ำก็ไม่ง่ายหากจะซื้อหรือขายจะทำให้ราคามันสวิงมากแม้เราจะซื้อน้อยนิด
แต่ช่วงท้ายปีนี้เรามีจังหวะดีที่เก็บหุ้นจนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ด้วยต้นทุนที่น่าพึงพอใจ
แต่แล้วผมได้ตัดสินใจขายหุ้นของเราทั้งหมดจากตอนที่ราคาหุ้นตกลงมาจาก
100 เหรียญ ลงมาที่ 80 เหรียญต่อหุ้น ทำไมผมจึงทำเช่นนั้น ผมไม่ซีเรียสครับที่จะถือหุ้นไว้เพราะต้นทุนผมอยู่ที่
50 เหรียญแล้วก็ทยอยซื้อสะสมต่อไปแม้ว่าผลงานผมจะไม่ค่อยดีเท่าไรในปีที่แล้ว
เพราะปีที่แล้วเป็นปีที่ Commonwealth กำไรเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยบังเอิญ
ดังนั้นผลงานของเราในแต่ละปีถูกจำกัดโดยประมาณการณ์ผลประกอบการในระยะยาว แต่ไม่ใช่แค่นั้นอย่างไรก็ตามผมเชื่อว่าด้วยวิธีการซื้อหุ้นที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าคือวิธีการที่ชัวร์ที่สุดที่จะช่วยป้องกันเราประคับประคองหุ้นของเราเพื่อให้ผลประกอบการระยะยาวของหุ้นเราสัมฤทธิ์ผล
คนที่ซื้อหุ้นของผมไปที่
80 เหรียญผมคาดว่าเค้าจะได้รับผลประกอบการที่ดีพอใช้ได้ไปหลายปีเพราะที่ผมคำนวณ intrinsic value ไว้ที่ 135
เหรียญ แต่ ณ จุดนี้มีความเปลี่ยนแปลง intrinsic
value 135 กับราคา 80 ไม่เท่ากับ intrinsic value 125 กับต้นทุน 50
สำหรับสถานการณ์แบบนี้ผมคิดว่าหากเราปรับพอร์ตการลงทุนจะได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่า และจะว่าไปหุ้น
Commonwealth ก็ไม่ได้มีมูลค่าต่ำกว่าราคาเมื่อเทียบกับหุ้นตัวอื่น
ๆ ของเรา
หากเรานำ 25% ของสินทรัพย์ที่อยู่ในหุ้น Common
Wealth ไปลงทุนใหม่ เราน่าจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
การเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่นั้นระยะเวลาในการถือครองสมควรเป็นเวลาที่ให้บริษัทปรับตัวจาก
หุ้นที่มูลค่าต่ำกว่าควร เป็นมูลค่าที่แท้จริงของมัน
ในการถือครองแต่ละครั้งเราจะเห็นได้ชัดแจ้งว่าผลตอบแทนหุ้นในระยะเวลาที่เราถือครองจะดีกว่าดัชนีดาวน์โจนส์
ณ ช่วงเวลาเดียวกัน
สถานการณ์ปัจจุบัน
ตลาดขึ้นมาสูงแล้วครับและมันยากเหลือเกินสำหรับผมที่ผมจะหาสินทรัพย์ที่มีราคาถูกจนกระทั่งผมสนใจ
และผมพร้อมที่จะถือครองสินทรัพย์เหล่านั้นเพิ่มขึ้นแต่มันยากเหลือเกินที่จะพิจารณาได้อย่างเหมาะสมในช่วงเวลา
ณ ขณะนี้
เพื่อที่จะขยายโอกาสในการลงทุน
ผมพยายามที่จะออกแรงในการซื้อหุ้นที่มีมูลค่าต่ำกว่าราคาไว้ในครอบครองอย่างไม่ลดละ
ผมดำรงไว้ซึ่งนโยบายนี้เพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ของผมที่จะสร้างผลตอบแทนแบบโดดเด่นในยามที่ตลาดตกต่ำหรือในสภาวะปกติ
และผมยินดีที่จะได้รับผลตอบแทนแบบปกติในยามที่ตลาดร้อนแรง
วอร์เรน อี. บัฟเฟตต์
11 กุมภาพันธ์ 2502
..............................................
ผมอยากขยายความที่ บัฟเฟตต์ เขียนไว้ในปี 2501 กับปัจจัยที่เค้าพิจารณาขาย Common Wealth ออกไป ดังนี้
1. วอร์เรน จะคำนวณ Intrinsic Value ก่อนเสมอ
2. แม้ว่าวอร์เรนจะไม่ให้น้ำหนักกับตลาด แต่เค้าจะคอยจะเปรียบเทียบราคา ณ ขณะนั้น เป็นต้นทุนของเขา ดังประโยคที่ว่า " intrinsic value 135 กับราคา 80 ไม่เท่ากับ intrinsic value 125 กับต้นทุน 50"
3. การวัดผลการดำเนินงาน วอร์เรน ไม่ได้บอกว่าปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว แต่ให้ดูเปรียบเทียบกับตลาดแทน เช่น ปีนี้มากกว่าตลาด มากกว่า ปีที่แล้ว เค้าถือว่าดี (ถึงแม้ว่าจริง ๆ แล้วปีนี้จะทำได้น้อยกว่าปีที่แล้วก็ตาม) - ผมว่าหลักการณ์นี้ดีมากนะอันนี้ผมชอบมาก ส่วนนึงมันช่วยลด อีโก้และความขี้อิจฉา ตัวกูของกู ด้วย ลองนำหลักข้อนี้ไปใช้ดู
4. วิธีการซื้อหุ้นที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าคือวิธีการที่ชัวร์ที่สุดที่จะช่วยป้องกันเราประคับประคองหุ้นของเราเพื่อให้ผลประกอบการระยะยาวของหุ้นเราสัมฤทธิ์ผล
5. ระยะเวลาในการถือครองสมควร คือ "เวลาที่ให้บริษัทปรับตัวจาก หุ้นที่มูลค่าต่ำกว่าควร เป็นมูลค่าที่แท้จริงของมัน"
6. ต่อเนื่องจากเรื่องของการวัดผลตอบแทน ดังนั้น ตลอดระยะเวลาถือครอง "เราควรจะเห็นได้ชัดแจ้งว่าผลตอบแทนหุ้นในระยะเวลาที่เราถือครองจะดีกว่าดัชนี ณ ช่วงเวลาเดียวกัน"
บทความนี้แม้จะเก่าแล้ว (55 ปี) แต่ผมว่ามีคุณค่าและตอบโจทย์หลาย ๆ อย่างให้กับผมเองครับ
อ้อ อีกเรื่องนึง ผมถือว่าเป็นรากฐานแนวคิดที่ตกผลึกจริง ๆ ครับ
"ผมพยายามที่จะออกแรงในการซื้อหุ้นที่มีมูลค่าต่ำกว่าราคาไว้ในครอบครองอย่างไม่ลดละ ผมดำรงไว้ซึ่งนโยบายนี้เพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ของผมที่จะสร้างผลตอบแทนแบบโดดเด่นในยามที่ตลาดตกต่ำหรือในสภาวะปกติ และผมยินดีที่จะได้รับผลตอบแทนแบบปกติในยามที่ตลาดร้อนแรง"
..............................................
ผมอยากขยายความที่ บัฟเฟตต์ เขียนไว้ในปี 2501 กับปัจจัยที่เค้าพิจารณาขาย Common Wealth ออกไป ดังนี้
1. วอร์เรน จะคำนวณ Intrinsic Value ก่อนเสมอ
2. แม้ว่าวอร์เรนจะไม่ให้น้ำหนักกับตลาด แต่เค้าจะคอยจะเปรียบเทียบราคา ณ ขณะนั้น เป็นต้นทุนของเขา ดังประโยคที่ว่า " intrinsic value 135 กับราคา 80 ไม่เท่ากับ intrinsic value 125 กับต้นทุน 50"
3. การวัดผลการดำเนินงาน วอร์เรน ไม่ได้บอกว่าปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว แต่ให้ดูเปรียบเทียบกับตลาดแทน เช่น ปีนี้มากกว่าตลาด มากกว่า ปีที่แล้ว เค้าถือว่าดี (ถึงแม้ว่าจริง ๆ แล้วปีนี้จะทำได้น้อยกว่าปีที่แล้วก็ตาม) - ผมว่าหลักการณ์นี้ดีมากนะอันนี้ผมชอบมาก ส่วนนึงมันช่วยลด อีโก้และความขี้อิจฉา ตัวกูของกู ด้วย ลองนำหลักข้อนี้ไปใช้ดู
4. วิธีการซื้อหุ้นที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าคือวิธีการที่ชัวร์ที่สุดที่จะช่วยป้องกันเราประคับประคองหุ้นของเราเพื่อให้ผลประกอบการระยะยาวของหุ้นเราสัมฤทธิ์ผล
5. ระยะเวลาในการถือครองสมควร คือ "เวลาที่ให้บริษัทปรับตัวจาก หุ้นที่มูลค่าต่ำกว่าควร เป็นมูลค่าที่แท้จริงของมัน"
6. ต่อเนื่องจากเรื่องของการวัดผลตอบแทน ดังนั้น ตลอดระยะเวลาถือครอง "เราควรจะเห็นได้ชัดแจ้งว่าผลตอบแทนหุ้นในระยะเวลาที่เราถือครองจะดีกว่าดัชนี ณ ช่วงเวลาเดียวกัน"
บทความนี้แม้จะเก่าแล้ว (55 ปี) แต่ผมว่ามีคุณค่าและตอบโจทย์หลาย ๆ อย่างให้กับผมเองครับ
อ้อ อีกเรื่องนึง ผมถือว่าเป็นรากฐานแนวคิดที่ตกผลึกจริง ๆ ครับ
"ผมพยายามที่จะออกแรงในการซื้อหุ้นที่มีมูลค่าต่ำกว่าราคาไว้ในครอบครองอย่างไม่ลดละ ผมดำรงไว้ซึ่งนโยบายนี้เพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ของผมที่จะสร้างผลตอบแทนแบบโดดเด่นในยามที่ตลาดตกต่ำหรือในสภาวะปกติ และผมยินดีที่จะได้รับผลตอบแทนแบบปกติในยามที่ตลาดร้อนแรง"
Thank you so much krub.
ตอบลบ